เกริ่นนำ

.........สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาชมใน blogger ของดิฉัน นะค่ะ บล็อกนี้เป็นสื่อการเรียนการสอนของ วิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1/2558 เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานกันในแบบห้องเรียนปกติ กับการเรียนรู้ เว็ป blogger และช่วยให้ได้ความรู้อย่างกว้างขวางทางอินเทอร์เน็ตมีความสะดวดสบาย ทำให้ได้ข้อมลูทั้งที่เป็นบทความและ รูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู...ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการตกแต่ง บล็อกของตนเอง แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าอย่างอิสระเสรี พร้อมกว้างไกล มาตรวจสอบในห้องเรียนปกติ หวังว่า blogger นี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ชมทุกท่านไม่มากก็น้อย นะค่ะ

หน่วยที่ 1

ความหมายและความสำคัญของครู

ครู อาจารย์ และคำที่มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน

             คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ" คําว่า ครู ตามศัพท์แปลว่า ผู้หนัก หมายถึง ผู้ที่ต้องมีภาระหนักในการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์และในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
             อาจารย์ แปลว่า ผู้ที่ศิษย์จะต้องประพฤติตอบด้วยความเอื้อเฟื้อ คือความเคารพนบนอม ในทาง
พระพุทธศาสนาถือกันว่า ครูเป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม อันจะเป็นกําลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป
             แต่...สิ่งที่สองตำแหน่งนี้มีเหมือนกัน คือ การสอนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความรู้ มีทักษะชีวิตในการที่จะนำสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

สรุป
           ครูและอาจารยคือผูใหความรูดูแลความประพฤติของศิษยมีหนาที่พัฒนาให ศิษยเปนคนมีคุณภาพตอประเทศ และสังคม นอกจากน ี้ไมวาจะมีครูกี่ประเภท สังคมใน ปจจุบันและในอนาคต ยอมตองการครูดีหรือครูแททั้งสิ้น
ครูกับความเป็นครู
                                                            จิตวิญญาณความเป็นครู

                   "...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส. (28 ตุลาคม 2523). อ้างถึงใน กรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมันตรี
                   ครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไปอย่างน่าเป็นห่วง ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะเตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู

ครูที่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้ นั่นคือ ครูที่ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู

และครูจะต้องถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมากจนน่าวิตก ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ ภาระงานของครูมีมาก แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ เป็นต้น
“ จิตสำนึกและวิญญาณครู” จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา ให้กลับมาสู่อาชีพของครูให้ได้มากที่สุด

ความสำคัญของครู
           ความสําคัญของครู อาชีพทุกอาชีพยอมมีความสําคัญตอบุคคลและสังคมดวยกันทั้งนั้นเปนการยากที่จะบงบอกวา อาชีพใดสําคัญกวาอาชีพใด แตในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูวา มี ความสําคัญตอสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแกผูสําเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครูณ อาคารใหมสวนอัมพร วันพุธท ี่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งวา
                      “ .....อาชีพครูถือวาสําคัญอยางยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาประเทศ ใหเจริญมั่นคง และกอนที่จะพัฒนาบานเมืองใหเจริญไดนั้น จะตองพัฒนาคน ซึ่งไดแก เยาวชนของชาติเสียกอน เพื่อใหเยาวชนเติบโตเปนผูใหญที่มีคุณคาสมบูรณทุกดาน จึง สามารถชวยกันสรางความเจริญใหแกชาติตอไปได........”
           จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ไดอัญเชิญมากลาวไวขางตน เปน เครื่องยืนยันใหเห็นถึงความสําคัญของครูที่มีตอความเจริญของบุคคลและชาติบานเมืองเปนอยางยิ่งชาติบานเมืองจะเจริญไดเพราะประชาชนในชาติไดรับการศึกษาที่ดีและมีครู ที่มีคุณภาพ ในอดีตครูมีความสําคัญตอบุคคลและสังคมมาก แตในปจจุบันความสําคัญของครู เปลี่ยนไป มีสาเหตุหลายประการที่ทําใหความสําคัญของครูในอดีตกับครูในปจจุบัน แตกตางกัน เชน
              1. จํานวนครูในอดีต จํานวนครูมีนอย คนที่จะมาเปนครูไดนั้นจะตองมีการคัดเลือกผูที่มี สติปญญาดีและมีนิสัยเหมาะสมที่จะเปนครูสามารถประพฤติปฏิบัติตนใหเปนแบบอยาง แกลูกศิษยไดดังนั้น ความสําคัญของครูจึงมีมาก ในปจจุบัน การศึกษาขยายตัวอยางรวดเร็ว จึงมีความจําเปนที่จะตองเพิ่ม จํานวนครูใหมากขึ้น และมีคนเปนจํานวนมากที่มิไดศรัทธาที่จะเปนครูแตจําเปนตอง ประกอบอาชีพนี้ เพียงเพื่อใหมีโอกาสไดงานทํา จึงทําใหครูบางคนมีพฤติกรรมที่ไม เหมาะสมกับการเปนครูไมมีศรัทธาในวิชาชีพที่ทําอยู
             2. หลักสูตรการสอน ในอดีต “ตัวครู” คือ “หลักสูตร” ครูมีความสามารถในเรื่องใด หรือมีวิธีการ สอนอยางใดก็สอนกันไปเชนนั้น ครูมีความสําคัญมากในการที่ จะดูแลปรับปรุงพฤติกรรม ของเด็ก ในปจจุบัน หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับตาง ๆ มีมาก และแตละ สาขาวิชาก็จะมีครูเฉพาะสาขาวิชาทําการสอนในวิชานั้น ๆ อยู นักเรียนจะมีโอกาสได เรียนกับครูหลาย ๆ คน ทําใหความผูกพันระหวางครูกับนักเรียนลดนอยลง นักเรียนจะ ไมคอยเห็นคุณคาความสําคัญของครูเทาใดนัก
              3. จํานวนนักเรียน ในอดีต จํานวนประชากรมีนอยกวาปจจุบันมาก ผูที่สนใจจะเรียนหนังสือก็ มีจํานวนไมมาก ครูผูสอนแตละคนสามารถดูแลอบรมนักเรียนไดอยางทั่วถึง มีความผูกพันซึ้งกันและกัน ในปจจุบัน จํานวนนักเรียนในแตละระดับ แตละหองมีมากขึ้น ครูบางคน ตองสอนนักเรียนหลายหองเมื่อสอนหมดชั่วโมงหนึ่งก็ตองรีบไปสอนตออีกหองตอไป ทําใหความผูกพันใกลชิดกันระหวางครูกับลูกศิษยลดนอยลงตามลําดับ 
               4. อนาคตของศิษย ในอดีต คนที่มีโอกาสไดศึกษาเลาเรียนเกือบทุกคนจะไดดีมีงานทํา ในปจจุบันคนที่ เรียนหนังสือมีมากขึ้น เมื่อเรียนสําเร็จแลวตองแยงกันหางานทํา แตงานมีจํานวนนอย เพราะฉะนั้น คนที่เรียนสําเร็จแลวไมมีงานทําจะมีมากและเปนพวกที่ไมเห็นความสําคัญของครูเทาไรนัก
                5. ความรูสึกของศิษยและผูปกครองในอดีต ลูกศิษยเรียนจบมีงานทําดีๆ ทั้งลูกศิษยและผูปกครองมักจะ นึกถึงบุญคุณครูที่เคี่ยวเข็ญและสั่งสอนมาในปจจุบัน ลูกศิษยมักจะไมนึกถึงบุญคุณครูเทาไรนัก เพราะครูไมไดใกลชิดสั่งสอนอบรมลูกศิษยเชนครูในอดีต จากเหตุผลดังกลาว ทําใหความสําคัญของครูในอดีตและปจจุบันมีความแตกตางกัน ทั้งๆ ที่ในความเปนจริงความสําคัญของครูมิไดลดนอยลงไปเลย ครูยังคงมีบทบาทและ ความสําคัญอยูเสมอเพียงแตคนบางกลุมมิไดเห็นวาครูมีความสําคัญตอตนเชนเดียวกับ ลูก ศิษยในสมัยกอน
ประเภทของครู
            การแบงครูเปนประเภทตาง ๆ ยอมขึ้นอยูกับความรูความสามารถและหนาที่ของ แตละบุคคล การแบงประเภทของครูอาจจะเปนการชวยกระตุนความเปนครูใหผูประกอบ
วิชาชีพครูดวย ยนต ชุมจิต (2541: 22-23) ไดแบงประเภทครูตามลักษณะของงานออกเปน 4 ประเภท คือ             1. ครูประจําบาน ไดแก พอ แม ซึ่งถือวาเปนครูคนแรกของลูก เพราะท ั้ งสอง ทานยอมจะมีความใกลชิดคอยดูแลปกปองลูกตลอดเวลา จึงมีการยกยองใหพอ แม เปน บูรพาจารยของลูก
            2. ครูประจําโรงเรียน ไดแก ครูอาจารยที่ทําการสอนนักเรียนตามโรงเรียน หรือ สถานศึกษาตาง ๆ จะกระทําโดยสํานึกหรือดวยวิญญาณของความเปนครูอยางแทจริง หรือกระทําตามหนาที่ที่ไดรับมอบหมายจากทางราชการ
             3. ครูประจําวัด ไดแก พระภิกษุสงฆในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนา นั้น ๆ ที่มีความรูความเขาใจในหลักคําสอนในศาสนาของตนเพียงพอ และทําหนาท ี่ เผยแพรหลักธรรมคําสอนเพื่อใหประชาชนมีศีลธรรมคุณธรรมประจําใจ
            4. ครูประจําโลก ไดแก พระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา และศาสดาของ ศาสนาตางๆ ที่ไดคนพบหลักธรรมคําสอนอันประเสริฐ แลวนําหลักธรรมนั้นๆ มา เผยแพรอบรมใหมนุษยในโลกไดรูไดเขาใจ และนําไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขความ เจริญและความรมเย็นแหงชีวิต

บทบาทและหน้าที่ของครู

ความหมายของบทบาท หนาที่ความรับผิดชอบ
            บทบาท หมายถึง การแสดงออกของคนซึ่งคนอื่นคาดคิด หรือหวังวาเขาจะ กระทําเมื่ออยูภายใตสถานการณทางสังคมอยางหนึ่ง การที่ประชาชนคาดหมายหรือหวัง ใหเขากระทําอยางนั้น ถือเอาฐานะและหนาที่ทางสังคมของเขาเปนมูลฐาน หรือ พฤติกรรมที่แสดงออก ซึ่งเหมาะสมสอดคลองกับตําแหนงหนาที่
             หนาที่ หมายถึง งานการปฏิบัติการบริหาร หรือธุรกิจที่ตองกระทําตามคําสั่งให เกิดผลดวยความดีหรือการปฏิบัติงานตามตําแหนง งานอาชีพ หรืองานวิชาชีพ หรือเปน พฤติกรรมที่กําหนดใหกระทําโดยความจําเปนทางหลักศีลธรรม ความตองการตาม ขนบธรรมเนียมหรือตามความพอใจ โดยอาศัยความรูสึกนึกถึงความถูกตองและความ เหมาะสม
       ๑. บทบาทของครู
               ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
                   ๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
                    ๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
                   ๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
           หน้าที่ของครู
                หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
                    ๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
                    ๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
                    ๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม


บทบาทของครูที่พึงประสงค 
         1.บทบาทของครูตามหลักวิชาการ มีนักวิชาการไดเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของครูไวหลายทาน ดังนี้
            แฮวิงเฮิรสทและเลวิน (R. J. Havinghuerst & D. U. Levine) ไดกลาวถึง บทบาทครูไว 2 ดาน คือ
                   1.1 บทบาทของครูในชุมชน มีหลายบทบาท เชน
                           1. ผูนําการเปลี่ยนแปลงและนักปฏิรูปสังคม
                           2. ผูริเริ่มบุกเบิกความคิด
                           3. ผูผดุงรักษาวัฒนธรรม
                           4. ผูควรแกการยกยอง
                           5. ผูใหบริการสาธารณะ
                    1.2 บทบาทของครูในโรงเรียน มีหลายบทบาท เชน
                           1. ผูอบรมเลี้ยงดูหรือสรางสังคมประกิต (Socialization Agent) 
                           2. ผูเปนตัวกลางหรือผูกอใหเกิดการเรียนรู
                           3. ผูรักษาวินัย
                           4. ผูเปนเสมือนพอแม
                           5. ผูตัดสินหรือรักษากติกา
                           6. ผูเปนที่พึ่งของเด็ก

           จอหนสัน (E. A. Johnson) ไดเสนอบทบาทของครูไว 7 ประการ คือ
                           1. ผูนําของเด็ก
                            2. ที่ปรึกษาของเด็ก
                           3. ผูชํานาญในการสอน
                           4. มิตรของเด็ก
                           5. ผูกําหนดจุดประสงค
                          6. ผูวัดผลและประเมินผล
                          7. ผูกระตุนใหเด็กปรับตัวเขากับสังคม

            บารและคณะ (Barr A. S. & Others) ไดพิจารณาในการวัดผลและพยากรณ ประสิทธิผลของครูผานบทบาทหนาที่ 4 ดาน คือ
                          1. ครูในฐานะผูอํานวยการสอน
                          2. ครูในฐานะเพื่ อนและผูใหคําปรึกษาแกนักเรียน
                          3. ครูในฐานะสมาชิกคนหน ึ่ งของชุมชนโรงเรียน 
                          4. ครูในฐานะสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ
        การมีมนุษยสัมพันธของครูสามารถจําแนกออกไดดังนี้
                    1. มนุษยสัมพันธระหวางครูกับนักเรียน ครูควรสอนใหลูกศิษยมีความรูในวิชาการตางๆ มี ความประพฤติที่ดีเปนท ี่ปรึกษาของลูกศิษย พยายามหาทางชวยเหลือถาลูกศิษยมีปญหา
                    2. มนุษยสัมพันธระหวางครูกับครู - ครูทุกคนควรมีความสามัคคีกัน ถาสถานศึกษาใดมี ครูอาจารยที่สมานสามัคคีกันการพัฒนาโรงเรียนและ วิชาการก็จะเจริญกาวหนาไปรวดเร็ว
                    3. มนุษยสัมพันธระหวางครูกับผูปกครองและชุมชน ผูปกครองนักเรียนเปนบุคคลกลุมหนึ่งที่มีบทบาท สําคัญตอการเรียนการสอนและการพัฒนาโรงเรียน ถาโรงเรียนใดสามารถโนมนาวใหผูปกครองเขามา
       2. บทบาทของครูตามแนวคิดปรัชญาลัทธิตาง ๆ กลุมลัทธิปรัชญาตาง ๆ ไดใหทัศนะเกี่ยวกับบทบาทของครูไวดังนี้
                     1. ฝายจิตนิยม
                           ถือวา “ครูคือแมพิมพ” (Paradigmatic Self) ยกใหครูมีอาวุโส และวุฒิภาวะสูงกวานักเรียน ตองเปนแบบอยางที่ดีทั้งดานความรูและ ความประพฤติตองมีความสามารถในการถายทอดความรูโดยใช สัญลักษณไดดีมีประสิทธิภาพ
                      2. ฝายสัจนิยม หรือ วัตถุนิยม
                            ถือวา “ครูคือผูสาธิต” (Demonstrator) บทบาทของครูคือ เปนส ื่ อกลางระหวางนักเรียนกับความรูที่เปน ขอเท็จจริง
                      3. ฝายประสบการณนิยม ถือวา
                           “ครูเปนเสมือนผูอํานวยการโครงการวิจัย” กําหนดใหครูเปนเพียงผูมีสวนรวมในกระบวนการเรียนของเด็ก ครูมิใช ตัวกลางหรือมิใชผูนําสารแตอยูในฐานะผูดูแลใหแตละคนดําเนินไปสู เปาหมายเปนสําคัญ
                      4. ฝายอัตถิภาวนิยม ถือวา
                             “ครูคือผูคอยกระตุนหรือย ั่ วยุ” คือเปนผูกระตุน ใหเด็กแตละคนไดเรียนรูคนพบความจริงดวยตนเอง
                      5. ฝายโทมัสนิยมใหม ถือวา
                                “ครูคือผูรักษาวินัยทางความคิด” (Mental Disciplinarian) กําหนดใหครูเปนนายทางปญญา หรือ ผูอํานวยการฝกฝน ทางปญญา และความคิด เปนพิธีกรทางปญญา หรือผูพัฒนาอํานาจทาง ความคิด ในการนี้ครูตองเปนผูมีความสามารถในการใหเหตุผล มี เจตจํานงอันแนวแนและมีความจําดี

หนาที่และความรับผิดชอบของครู 
          1. หนาที่ตามมาตรฐานกําหนดตําแหนงขาราชการครู หนวยงานบริหาร บุคคลกลางสําหรับขาราชการครูของคุรุสภาไดวางมาตรฐานกําหนดตําแหนงขาราชการ ครูในสวนที่เกี่ยวกับหนาที่รับผิดชอบไว 6 ขอ ดังนี้
                     1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การอบรม การปกครองดูแลให คําแนะนําและแนะแนวตางๆ
                    2) ศึกษาวิจัย วิเคราะหขอมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
                    3) ใหบริการแกสังคมในดานวิชาการและดานอื่นๆ
                    4) นิเทศในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ
                    5) ชวยงานธุรการและงานบริการและสถานศึกษา
                    6) ปฏิบัติหนาที่อื่นๆ ตามที่ไดรับมอบหมาย

        2. หนาที่ตามจรรยาและวินัยขาราชการครู 
             2.1 หนาที่ตามจรรยาและวินัยขาราชการใน พรบ. ขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2518
               มาตรา 65 ถึงมาตรา 81 มีความโดยสรุปดังนี้
               มาตรา 65 ตองรักษาวินัยโดยเครงครัดอยูเสมอ
               มาตรา 66 ตองสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตาม รัฐธรรมนูญดวยความบริสุทธ ิ์ใจ
               มาตรา 67 ตองปฏิบัติหนาท ี่ ราชการดวยความซ ื่ อสัตยสุจริต และเท ี่ ยงธรรม
               มาตรา 68 ตองสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ตั้งใจปฏิบัติหนาที่ตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ และมติคณะรัฐมนตรี
               มาตรา 69 ตองสนใจและรับทราบเหตุการณเคลื่อนไหวอันอาจเปน ภยันตรายตอประเทศชาติและตองปองกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแกประเทศชาติ
               มาตรา 70 ตองรักษาความลับของทางราชการ
               มาตรา 71 ตองปฏิบัติตามคําสั่งของผูบังคับบัญชาซึ่งสั่งในหนาที่ราชการ โดยชอบดวยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
                มาตรา 72 ตองปฏิบัติราชการ โดยมิใหเปนการกระทําการขาม ผูบังคับบัญชาเหนือตน
                มาตรา 73 ตองไมรายงานเท็จตอผูบังคับบัญชา
                มาตรา 74 ตองถือและปฏิบัติตามระเบียบและธรรมเนียมของทางราชการ
                มาตรา 75 ตองอุทิศเวลาของตนใหแกราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหนาที่ราชการมิได้
                มาตรา 76 ตองสุภาพเรียบรอย รักษาความสามัคคีระหวางขาราชการและ ชวยเหลือซค่งกันและกัน
                มาตรา 77 ตองสุภาพเรียบรอย ตอนรับใหความสะดวกความเปนธรรม และใหสงเคราะหแกประชาชนที่ มาติดตอไมดูหมิ่น กดขี่ขมเหงราษฎร
                มาตรา 78 ตองไมกระทําหรือยอมใหผูอื่นกระทําการหาผลประโยชนอัน จะทําใหเสียความเที่ยงธรรมและเสียเกียรติศักด ิ์ ของตําแหนงหนาที่
                มาตรา 79 ตองไมเปนกรรมการผูจัดการ หรือตําแหนงที่มีลักษณะ คลายคลึงกันในหางหุนสวนหรือบริษัท
                 มาตรา 80 ตองไมเปนกรรมการพรรคการเมือง หรือเจาหนาท ี่ในพรรค การเมือง
                 มาตรา 81 ตองไมกระทําการอันไดชื่อวาเปนผูประพฤติชั่ว
          2.2 หนาท ี่ ตามระเบียบคุรุสภา วาดวยจรรยามรรยาทและวินัยตามระเบียบ ประเพณีของครูพ.ศ. 2526 มีดังนี้
                 1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปน ประมุขดวยความ
บริสุทธ ิ์ใจ
                 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ ตนนับถือ ไมลบหลูดูหมิ่นศาสนาอื่น 
                 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษยและปฏิบัติหนาที่ของตนเองใหเกิดผลดีดวยความ เอาใจใสอุทิศเวลาของตนใหแกศิษยจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหนาที่การงานมิได้
                 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิใหขึ้นชื่อวาเปนผูประพฤติชั่วหามประพฤติการใดๆ อันอาจทําใหเสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 
                 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคําสั่งของผูบังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหนาที่การงานโดยชอบดวยกฎหมายและ ระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
                 6. ถายทอดวิชาความรูโดยไมบิดเบือนและปดบังอําพราง ไมนําหรือยอมใหนําผลงานทางวิชาการของตนเองไปใชในทางทุจริตหรือเปนภัยตอมนุษยชาติ
                  7. ใหเกียรติแกผูอื่นทางวิชาการโดยไมนําผลงานของผูใดมาแอบอางเปน ผลงานของตนและไมเบียดบังใชแรงงานหรือนําผลงานของผูอื่นไปเพื่อประโยชนสวนตน
                  8. ประพฤติตนอยูในความซื่อสัตยสุจริต และปฏิบัติหนาที่ของตนดวย ความเที่ยงธรรม ไมแสวงหาประโยชนสําหรับตนเอง หรือผูอื่นโดยมิชอบ 
                  9. สุภาพเรียบรอยประพฤติตนเปนแบบอยางที่ดีแกศิษยรักษาความลับของ ศิษยของผูรวมงานและของสถานศึกษา 
                  10. รักษาความสามัคคีระหวางครูและชวยเหลือกันในหนาทที่การงาน
         3. หน้าทที่ครูดานจริยศึกษา มีทานผูรูในดานจริยศึกษาเสนอไวดังนี้
                  1. ครูทุกคนตองพรอมที่จะสอนจริยศึกษาไดตองมีจริยธรรมอยูในตัว ประพฤติตัวเปนแบบอยางแกศิษยได 
                  2. ครูตองเคารพความจริง มุงแสวงหาความจริง เขาถึงความจริง แลวนําไป สอนใหสอดคลองกับจริยธรรม 
                 3. ครูตองทําความเขาใจศัพทและถอยที่ใชและเกี่ยวของกับคุณธรรม จริยธรรม เพื่อจะไดนําไปใชสอนใหถูกตองเหมาะสม
                 4. ครูตองรูจักคิด รูจักทําตนเปนมิตรที่ดีหรือกัลยาณมิตร 
                 5. ครูตองสอนจริยศึกษาดวยการปฏิบัติและใหเด็กเห็นตัวอยาง
                 6. ครูตองวัดและประเมินผลการสอนอยูเสมอ โดยการสังเกตพฤติกรรม นักเรียน 
         4. หนาที่ความรับผิดชอบของครูจากผลการวิจัย จากผลการวิจัยของ เฉลียว บุรีภักดีและคณะ พอจะกลาวถึงหนาทที่ความ รับผิดชอบของครูดังนี้
                 1. หมั่นอบรมเด็กอยูเสมอ
                 2. ตั้งใจสอน รักการสอน
                 3. จัดการปกครองไดเปนที่เรียบรอย
                 4. เตรียมการสอนและทําบันทึกการสอน
                 5. หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน
                 6. รับผิดชอบในหนาที่ที่ไดรับมอบหมาย
                 7. ชวยใหคําแนะนําแกเด็กดวยความเต็มใจ
                 8. สอนใหเด็กเปนประชาธิปไตย

อ้างอิง

https://www.gotoknow.org/posts/238993
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9
กนกวรรณ ทองตะโก (http://www.royin.go.th/)
 http://e-book.ram.edu/e-book/c/CU503/CU503-3.pdf

วันที่สืบค้น : 8 ตุลาคม 2558  เวลา 20:40

1 ความคิดเห็น:

  1. ออกแบบเรียบง่าย แต่สบายตาดี ชอบมากค้ะ
    เนื้อหาโอเค แต่ตัวหนังสือเล้กไปนะค้ะ

    ตอบลบ