เกริ่นนำ

.........สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาชมใน blogger ของดิฉัน นะค่ะ บล็อกนี้เป็นสื่อการเรียนการสอนของ วิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1/2558 เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานกันในแบบห้องเรียนปกติ กับการเรียนรู้ เว็ป blogger และช่วยให้ได้ความรู้อย่างกว้างขวางทางอินเทอร์เน็ตมีความสะดวดสบาย ทำให้ได้ข้อมลูทั้งที่เป็นบทความและ รูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู...ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการตกแต่ง บล็อกของตนเอง แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าอย่างอิสระเสรี พร้อมกว้างไกล มาตรวจสอบในห้องเรียนปกติ หวังว่า blogger นี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ชมทุกท่านไม่มากก็น้อย นะค่ะ

หน่วยที่ 4

ลักษณะของครู้ที่ดี

              แนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับครูที่ดีว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะอย่างไรนั้น มีนานาทัศนะทั้งจากแนวคิดทางวัฒนธรรมความเชื่อแบบไทย ทัศนะความคิดจากวงการการศึกษาตะวันตก ตลอดจนผลการศึกษาค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ลักษณะของครูที่ดีเป็นอย่างไรนั้น อาจจะศึกษาได้จากแนวความคิดต่างๆ ดังนี้

 เอกลักษณ์ของครูที่ดี
                1.อดทน รู้จักผ่อนปรนต่อปัญหา สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาสอน
                2.รับผิดชอบต่อหน้าที่ และต่อตนเอง
                3.เอาใจใส่ต่อการเรียนความประพฤติ ความเป็นอยู่
                4.ใฝ่หาความรู้ สำรวจ ปรับปรุงแก้ไขตนเองอยู่เสมอ
                5.ขยันหมั่นเพียร รู้จักคิดริเริ่ม
                6.มีความยุติธรรมและทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่นใจ
                7.ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัดเหมาะสมกับสภาพอาชีพ
                8.เป็นผู้มีวัฒนธรรม และศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ
                9. สุภาพเรียบร้อย ประพฤติดีสม่ำเสมอ เหมาะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์
             
ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี

       แนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะครูที่ดีไว้ดังนี้ค่ะ
                     1. เป็นผู้มีความรอบรู้ (Being Knowledge able)
                     2. เป็นผู้มีอารมณ์ขัน (Being Humorous)
                     3. เป็นผู้มีความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Being Flexble)
                     4. เป็นผู้ที่มีความตั้งใจทำงานให้ถึงขีดสุด (Being Upbeat)
                     5. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ (Being Honest)
                     6. เป็นผู้มีความชัดเจน ( Being Clear and Concise)
                     7. เป็นคนเปิดเผย (Being Open)
                     8. เป็นผู้ที่มีความอดทน ( Being Patient)
                     9. เป็นแบบอย่างที่ดี ( Being a Role Model)
                    10. เป็นผู้สามารถประยุกต์ทฤษฏีไปปฏิบัติได้ (Being Able to Relate Theory to Practice)
                    11. เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Being Self Confident)
                    12.เป็นผู้มีความสามารถในศิลปะวิทยาการหลายๆ ด้าน (Being Diversified)
                    13. เป็นผู้แต่งกายเหมาะสมและมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี (Being Well Groomed and Having Personal Hygiene)
 ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา

 หลักคำสอนหรือหลักธรรมในพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความเป็นครู ประกอบด้วยหลักธรรม 7 ประการ คือ
                     1. ปิโย น่ารัก คือ การทำตัวเป็นที่รักต่อศิษย์และบุคคลทั่วไป การที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้ ก็ควรตั้งตนอยู่ในพรหมวิหาร 4 คือ
                          1.1 มีเมตตา ปรารถนาดีต่อศิษย์ หาทางให้ศิษย์เป็นสุขและเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิชาการและการดำเนินชีวิต คอยระวังมิให้ศิษย์ตกอยู่ในความประมาท
                           1.2 มีกรุณา สงสาร เอ็นดูศิษย์ อยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความไม่รู้
                           1.3 มีมุทิตา คือ ชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏเป็นการให้กำลังใจและช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง
                           1.4 มีอุเบกขา คือ วางตัวเป็นกลาง จิตใจที่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ
                  
                      2. ครุ หมายถึง การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งในด้านของจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง ที่จะดำรงตนอยู่ใน ความดีไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา และความหนักแน่นในด้านของความรอบรู้ธรรม ที่จะช่วยให้ครู มีคุณสมบัติ ดังกล่าว คือ พละ 5 ประการ ได้แก่
                          2.1 ศรัทธาพละ คือ มีความเชื่อในทางที่ชอบ เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
                          2.2 วิริยะพละ คือ ความเพียรในทางที่ชอบ คือ เพียรเลิกละความชั่ว เพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดในสันดาน
                          2.3 สติพละ หมายถึง ความระลึกได้ มีความรู้สึกตัวในการกระทำ การพูด การคิดให้รอบคอบ
                           2.4 สมาธิพละ หมายถึง ความมีใจจดจ่อแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่เป็นบุญกุศล พลังสมาธินี้จะเป็นกำลังต่อต้าน ความฟุ้งซ่านมิให้เกิดขึ้นในใจ
                           2.5 ปัญญาพละ หมายถึง ความรอบรู้ คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำอะไรควรเว้น อะไรเป็นประโยชน์ และอะไรไร้ประโยชน์
        
                     3. ภาวนิโย การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดีงามควรแก่การเคารพ
                     4. วัตตา คือ เป็นผู้มีมานะในการตักเตือนสั่งสอน เพื่อให้ศิษย์มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี คือใช้ความรู้ ความสามารถไปในทางสุจริต เป็นประโยชน์ ต่อตนเองและผู้อื่นได้ ลักษณะการสอนในแง่ของพุทธศาสนามี 5 ประการ คือ
                            4.1 สันทัสสนา คือ สอนให้เข้าใจชัดเจน เห็นจริงอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นดังนี้ คือ สอนจากสิ่งที่รู้แล้ว ไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้ สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งยาก สอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหาสิ่งที่เป็นนามธรรม
                            4.2 สมาทปนา มีการกระตุ้นเร่งเร้า เพื่อให้เกิดความกระตือรืนร้นที่จะประพฤติปฏิบัติตามที่ครูสอน
                            4.3 สมุตเตชนา สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ไม่ครั่นคร้าม ต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคใดๆ
                             4.4 สัมปหังสนา สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้เรียน คือมีเทคนิคในการสอนที่จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ
                     5. วจนัก ขโม เป็นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำโดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งการอดทนต่อกริยา วาจาอันก้าวร้าวรุนแรงของ ผู้อื่นได้นั้น เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง
                     6. คัม ภีรัญจกถัง กัตตา สามารถขยายข้อความที่ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจได้ การตีความในวิชาการนั้นๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งง่ายแก่การเข้าใจ เพราะวิชาการต่างๆ ที่ครูนำมาสอนนั้นล้วนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนไม่เคยเรียนมาก่อน ครูจะต้องมีวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องยากๆ ได้โดยง่าย โดยวิธีการ ดังนี้คือ
                             6.1 แสดงจุดเด่น หัวข้อสำคัญๆ หรือโครงสร้างของวิชานั้น เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด ก่อนที่จะอธิบาย ในรายละเอียดต่อไป
                             6.2 แสดงเหตุผลในวิชานั้น เช่น อธิบายจากเหตุไปสู่ผล อธิบายจากผลไปสู่สาเหตุ ยกตัวอย่างประกอบหรือ เปรียบเทียบกับเนื้อหาของวิชาอื่นๆ ที่ใกล้เคียง
                             6.3 แสดงเนื้อหาที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของวิชานั้นๆ ตลอดจนชี้ให้เห็นคุณค่าในเชิงปฏิบัติ เพราะผู้เรียน จะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใกล้ตัวสามารถนำมาปฏิบัติได้
                   7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย คือ การรู้จักและแนะนำศิษย์ไปในทางถูกที่ควรหมายถึง ไม่นำศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือชักชวนไปสู่อบายมุข เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวสถานเริงรมย์ต่างๆ วิธีการแนะนำศิษย์ไปใน ทาง ที่ถูกที่ควรนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ
                            7.1 คิดหาวิธี ใช้วิธีขู่กำหราบ เป็นวิธีเตือนให้ศิษย์รู้สึกตัวและ ละความชั่ว กล่าวคือ เมื่อเห็นศิษย์ ประพฤติ ไปใน ทางที่ไม่ถูกไม่ควร
                            7.2 นัคคหวิธี ใช้วิธียกย่องชมเชย เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดนิสัยที่ดีและป้องกันไม่ให้เกิดนิสัยที่ไม่ดี เมื่อใด ที่เห็นศิษย์ทำความดีครูจะต้องยกย่องชมเชย
                            7.3 ทิฎฐานคติวิธี ใช้วิธีกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ครูต้องการให้ศิษย์ประพฤติปฏิบัติอย่างไร ครูก็ต้องปฏิบัติตน เช่นนั้นให้ศิษย์ได้เห็นเป็นตัวอย่าง

 ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระราชดำรัส

              พระราชดำรัสในที่นี้ หมายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522 เมื่อวันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2523 มีข้อความที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูดีตอนหนึ่งว่า “... ครูที่แท้นั้นต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี ต้องขยันหมั่นเพียรและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดกลั่นและอดทน ต้องรักษาวินัยสำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..”

               จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตามที่ผู้เขียนได้อัญเชิญมาข้างต้นนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแล้ว สามารถเข้ากันได้กับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาทุกประการทั้งในหลักกัลยาณมิตตธรรมและหลักธรรมอื่นๆ ดังเช่น
                     1 หมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ตรงกับหลักธรรม “วิริยะ” หรือ “วิริยารัมภะ”
                     2 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ตรงกับหลักธรรม “จาคะ”
                     3 หนักแน่น อดกลั้นอดทน ตรงกับหลักธรรม “ขันติ”
                     4 รักษาวินัย...อยู่ในระเบียบแบบแผน ตรงกับหลักธรรม “วัตตา” หรือ “วินโย”
                     5 ปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย ตรงกับหลักธรรม “สังวร”
                     6 ตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ตรงกับหลักธรรม “สมาธิ”
                     7 ซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ตรงกับหลักธรรม “สัจจะ”
                     8 เมตตาหวังดี ตรงกับหลักธรรม “เมตตา”
                     9 วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ตรงกับหลักธรรม “อุเบกขา”
                    10 อบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ตรงกับหลักธรรม “ปัญญา”

ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลต่างๆ

         คุณลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลทั่วๆไป หมายถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ได้จากความคิดเห็นของนักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนบุคลในอาชีพต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมไว้ดังนี้
                    - มีลักษณะท่าทางดี
                    - มีความประพฤติดี
                    - มีอัธยาศัยดี
                    - มีความยุติธรรม
                    - เข้ากับคนได้ทุกชนชั้น
                    - เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของศิษย์
                    - พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                    - มีความสามารถในการทำงาน
                    - มีความเป็นผู้นำ
                    - มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
                    - มีความสามารถในการสอน
                    - มีสุขภาพอนามัยที่ดี
                     - เป็นตัวของตัวเอง
                     - มีจริยธรรมสูง
                     - เข้มแข็งอดทน
                     - คล่องแคล่วว่องไว
                     - ยืดหยุ่นผ่อนปรน
                     - สติปัญญาดี
                      - มีวิจารณญาณ
                      - ไม่มัวเมาในอบายมุขทั้งปวง

ลักษณะของครูที่ดีจากผลงานการวิจัย
            
             ฝ่ายโครงการของวิทยาลัยครูบ้านเจ้าพระยา ได้ทำการวิจัยเรื่องลักษณะของครูที่สังคมต้องการ โดยนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในเขตกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้สรุปผล ดังนี้
                    1. ด้านความประพฤติควรมีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และสังคม
                    2. ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ ควรมีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ
                    3. ด้านการสอนต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดี
                    4. ด้านการปกครองนักเรียน ควรฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม
                    5. ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู ครูควรสร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม
                    6. ด้านบุคลิกภาพของครู ครูควรแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความเป็นผู้นำ
                  7. ด้านการทำงานนอกเวลา และงานอดิเรกของครู เห็นว่าครูควรทำได้ไม่กฎหมาย หรือขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม

 ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตฐานของคุรุสภา

        ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา ได้สรุปว่าครูดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
                    1. รอบรู้ คือ รอบรู้ในวิชาชีพของตน
                    2. สอนดี คือ สอนมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนา
                    3. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ คือ ครูต้องมีศรัทธาในวิชาชีพครู ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนและสังคม  
                    4. มุ่งมั่นพัฒนา คือ ต้องรู้จักสำรวจปรับปรุงตนเอง ในใจใฝ่รู้

             ตามที่ได้กล่าวถึงลักษณะครูดีตามทัศนะต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีทัศนะที่คล้ายคลึงกันค่ะ ซึ่งครูมิมพอจะสรุปลักษณะของครูที่ดี ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญๆ ได้ 3 ประการ ดังนี้ค่ะ

                    ประการแรก : ภูมิรู้ ลักษณะของของครูที่ดีในด้านนี้ ได้แก่ คุณสมบัติส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถทางวิชาการที่จะสอนตลอดจนเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด เชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆ

                     ประการที่สอง : ภูมิธรรม ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ก็ได้แก่ การประพฤติดี เว้นจากอบายมุขทั้งปวง กระทำแต่สิ่งที่ดีที่สุจริต ทั้งกาย วาจา และใจ นอกจากนี้ ครูต้องมีจรรยาบรรณและคุณธรรมสูง ซื่อสัตย์ เสียสละ มีเมตตากรุณา ยุติธรรมและมานะอดทนค่ะ

                      ประการที่สาม : ภูมิฐาน ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ก็ได้แก่ บุคลิกภาพดี รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด เรียบร้อย พูดจาไพเราะนุ่มนวล น้ำเสียงชัดเจน มีลักษณะเป็นผู้นำ
 ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์

 ผลสรุปจากการวิจัยได้แสดงคุณลักษณะของครูที่ดีที่พึงปรารถนา 3 ด้านคือ
                1. มีความรู้ดี ซึ่งได้แก่ ความรู้ในวิชาการทั่วไป ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน ความรู้ในวิชาครู ความรู้ในหน้าที่และงานครูทุกประการ
                2.มีทักษะในการสอนและการปฏิบัติงานครู เช่น อธิบายเก่ง สอนสนุก ใช้สื่อและอุปกรณ์เสมอ จัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศได้น่าเรียน เร้าพฤติกรรม ตลอดจนชี้แนะแนวทางในการศึกษา จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นต้น
                3.มีคุรุธรรมนิยม อันได้แก่ คุณธรรมของครู จริยธรรม และคตินิยมในความเป็นครู เช่น ภาคภูมิใจที่ได้เป็นครู มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู รักการสอน พอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของศิษย์ ช่วยพัฒนาคนและสังคม ตลอดจนมีวิญญาณแห่งความเป็นครู เป็นต้น (อำไพ สุจริตกุล.2533:23-26)
จรรยาบรรณครู

                จรรยาบรรณครู หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติหรือการปฏิบัติตน ของผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อรักษาหรือส่งเสริมเกียรติคุณขื่อเสียงและฐานะของความเป็นครูไทย ได้มีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายรองรับเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2506 โดยอาศัยอำนาจบังคับของพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ที่กำหนดให้คุรุสภาเป็นสถาบันผู้ออกระเบียบข้อบังคับ ได้เรียกว่า ระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ข้อ และระเบียบว่าด้วยวินัยครู10 ข้อ จนกระทั่งปี พ.ศ.2539 คุรุสภาได้ปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของครูขึ้นใหม่ โดยตัดข้อความที่มีลักษณะเป็นวินัยออกไปเหลือเพียงบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ เรียกว่า ระเบียบคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 โดยประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2539 มีทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

                      1. ครูต้องรักศิษย์และเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจ ในการศึกษาแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
                      2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                      3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
                     4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
                     5. ครุต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
                      6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
                      7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
                      8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
                      9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

              ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้กำหนดจรรยาบรรณครู ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนแห่งชาติขึ้นมา เพื่อกำหนดให้ครูทุกคนต้องถือปฏิบัติ มี 12 ข้อ ดังนี้
                      1. ต้องรักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของหมู่คณะและสถานศึกษาที่สังกัดอยู่
                      2. ต้องไม่ลบลู่ ดูหมิ่นศาสนา
                      3. ต้องรักษาชื่อเสียง มิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
                      4. ไม่ละทิ้งการสอน อุทิศเวลาให้แก่ศิษย์ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ
                      5. ต้องรักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงานและสถานศึกษา
                      6. ต้องถือปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมที่ดีของสถานศึกษา
                      7. ต้องประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจรจิและเที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบ
                      8. ต้องไม่ปิดบังอำพราง หรือบิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ
                      9. ต้องไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อนร่วมงานและบุคคลใด ๆ เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งการในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบ แบบแผนของสถานศึกษา
                        10. ต้องไม่เบียดบังใช้แรงงาน หรือนำผลงานของศิษย์ไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
                        11. ต้องไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
                        12. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนเอง

             จะเห็นได้ว่า จรรยาบรรณครูทั้ง 2 ฉบับ เปรียบเสมือนศีลธรรมของครูที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นปกตินิสัย ถ้าครูปฏิบัติได้ทุกข้อตามจรรยาบรรณครู ทั้ง 2 ฉบับแล้ว สังคมก็จะศรัทธาและให้ความสำคัญกับอาชีพครูอันจะนำไปสู่การมีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพครู

ที่มา
https://sites.google.com/site/krutubtib/khru/laksna-khxng-khru-thi-di
 https://www.gotoknow.org/posts/182845
https://sites.google.com/site/khrukhonmai/k4
http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=14872
 https://www.gotoknow.org/posts/521302

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น