เกริ่นนำ

.........สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาชมใน blogger ของดิฉัน นะค่ะ บล็อกนี้เป็นสื่อการเรียนการสอนของ วิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1/2558 เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานกันในแบบห้องเรียนปกติ กับการเรียนรู้ เว็ป blogger และช่วยให้ได้ความรู้อย่างกว้างขวางทางอินเทอร์เน็ตมีความสะดวดสบาย ทำให้ได้ข้อมลูทั้งที่เป็นบทความและ รูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู...ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการตกแต่ง บล็อกของตนเอง แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าอย่างอิสระเสรี พร้อมกว้างไกล มาตรวจสอบในห้องเรียนปกติ หวังว่า blogger นี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ชมทุกท่านไม่มากก็น้อย นะค่ะ

หน่วยที่ 8

ความหมายของการเรียนรู้
นกจิตวทิยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้เช่น
  • คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนขา้งถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผล มาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
  • ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้เป็ นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม อันเป็ นผลมาจากประสบการณ์และการฝึ ก ท้งัน้ีไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ พฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธ์ิของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อน ตามธรรมชาติของมนุษย์ "
  • คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้เป็ นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอันเป็ น ผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
  • พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ทกัษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อนั มีผลมาจาก สิ่งกระตุน้อินทรียโ์ดยผา่ นประสบการณ์การปฏิบตัิหรือการฝึกฝน"
  • ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวชิาพ้ืนฐานการศึกษา(มนุษยก์ บัการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพค์ร้ังที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงน้นั เป็นเหตุทา ใหบ้ ุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อใหเ้กิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงท้งัประสบการณ์ทางตรงและ ประสบการณ์ทางอ้อม 
              ประสบการณ์ทางตรงคือ ประสบการณ์ที่บุคคลไดพ้บหรือสัมผสัดว้ยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยงัไม่ เคยรู้จกัหรือเรียนรู้คา วา่ “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แลว้ผู้หญ่บอกว่าร้อน และหา้ม คลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีกจนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวยัวะส่วนใด ส่วนหน่ึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไป เมื่อเขาเห็น กาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อน เขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คา ว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้วเช่นนี้กล่าว ได้ว่าประสบการณ์ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการ เปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ในการมีประสบการณ์ตรง บางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่า เป็นการเรียนรู้ได้แก่
                     1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
                     2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
                     3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
                     4. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
               ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรงแต่อาจไดร้ับ ประสบการณ์ทางออ้มจากการอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่าการอ่านหนงัสือต่างๆ และการรับรู้จาก สื่อมวลชนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนกัการศึกษาซึ่งกำหนดโดยบลูม และคณะ(Bloom and Others ) มุ่งพฒันาผู้เรียนใน 3 ดา้น ดังนี้
                      1. ด้านพุทธิพสิัย(Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุม พฤติกรรมประเภท ความจำความเข้าใจ การนำไปใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
                      2. ด้านเจตพิสัย(Affective Domain ) คือผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุม พฤติกรรมประเภท ความรู้สึกความสนใจ ทศันคติการประเมินค่าและค่านิยม
                       3. ด้านทักษะพิสัย(Psychomotor Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำการปฏิบัติงาน การมีทักษะและความ ชำนาญ

ความหมายของผู้นำ
ความหมายของผู้นำ               
                 ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การการศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน เพื่อให้เข้าใจภาวะผู้นำ (Leadership) และผู้นำ (Leader) ดีขึ้น จึงเสนอความหมายของผู้นำ (Leader) ไว้ดังนี้

  1. “ผู้นำ” ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ให้ความหมายของผู้นำว่า เป็นนามหมายถึง “หัวหน้า”
  2. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (McFarland,1979:214-215)
  3. ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ (Huse, 1978:227)
  4. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตาม (Yukl, 1989:3-4)
  5. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  6. ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง (กวี วงศ์พุฒ, 2535: 14-15)
  7. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย (กวี วงศ์พุฒ, 2535: 14-15)
  8. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้ (กวี วงศ์พุฒ, 2535: 14-15)
  9. ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด (กวี วงศ์พุฒ, 2535: 14-15)
  10. ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ (กวี วงศ์พุฒ, 2535: 14-15)
  11. ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ (บุญทัน ดอกไธสง, 2535:266)
  12. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่เป็นหัวหน้าทำหน้าที่ในการสั่งการแนะนำหรือชี้แนะให้กลุ่มปฏิบัติตามหรือมีบทบาทในการนำด้านการปฏิบัติการแสดงความคิดเห็นตลอดจนความเคลื่อนไหวต่างๆ( Webster, 1985 )
  13. ผู้นำ หมายถึง กระบวนใช้อิทธิพลที่หัวหน้าพยายามให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อให้งานของกลุ่มบรรลุเป้าหมายขององค์การ ( chester, 1987 )
  14. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีสถานภาพและหน้าที่เป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นหัวหน้าที่ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมเดียวกัน (Gouldner, 1950: 5 )
  15. ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าและบรรลุความสำเร็จโดยเป็นผู้ที่มีบทบาทแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้นำคือบุคคลที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและช่วยเหลือบุคคลต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม (DuBrin. 1998: 431 )
            ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กร มีอำนาจหน้าที่เหนือคนอื่นๆภายในองค์กรนั้นๆ มีน้าที่ในการสั่งการ วางแผน แนะนำ ชี้แนะหรือปฏิบัติ และมีความสามารถในการนำพากลุ่มหรือองค์กรไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้

 ผู้นำกับผู้บริหารต่างกันอย่างไร
ผู้บริหารและผู้นำ (Administrator versus leader)
          ผู้บริหาร (Administrator) คือ บุคคลที่รับผิดชอบให้การปฏิบัติงานขององค์การเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ใช้ในกิจการของรัฐ
ศิลปะของการบริหารจัดการ
หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
              - ความพยามน้อย (effort)
              - รายจ่ายน้อย (expense)
              - สูญเสียน้อย (waste)
หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
              - การทำให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเลือกเป้าหมายที่เหมาะสม การตัดสินใจที่ถูกต้อง รวมถึงความพึงพอใจผู้ที่ใช้บริการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder)
         ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อผู้อื่นในการชี้นำ ดลใจ หรือกระตุ้นให้บุคคลอื่นทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรที่ได้วางไว้ร่วมกันโดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารจัดการ
ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร มีดังนี้
             ผู้บริหารและผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเหมือนกัน พิจารณาจากคุณลักษณะประการหนึ่ง คือ ผู้บริหาร (Administrator) จะเกี่ยวข้องกับการบริหารงานเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นงานประจำ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง (do things right) ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการใช้ทรัพยากรให้บรรลุจุดหมายขององค์การได้ดี ในขณะที่ ผู้นำ (leader) จะมุ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรม ในทิศทางที่ถูกต้อง (do the right things) ความมีประสิทธิผล (effectiveness)และความสามารถจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเกิดแรงบันดาลใจใช้ความสามารถพิเศษได้อย่างเต็มที่ (Zalezink 1990 อ้างใน Bartol & others 1998)

Bass & others (อ้างใน Bartol & others 1998) ได้จำแนกผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ 
            ผู้นำแห่งการจัดการ (transactional leader) หมายถึง ผู้นำที่จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานในระดับที่คาดหวัง โดยให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในงาน ความชัดเจนในจุดหมายการทำงาน ความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการ ให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการและรางวัลที่จะได้รับการตอบสนองกับการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ผู้นำอีกลักษณะหนึ่งคือ 
             ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (transformational leader) เป็นผู้จูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานเกินกว่าความคาดหวังตามปกติ มุ่งไปที่ภารกิจงานอย่างกว้าง ๆ ด้วยความสนใจที่เกิดขึ้นภายในตน มุ่งการบรรลุความต้องการในระดับสูง เช่น ความสำเร็จของงาน มากกว่าความต้องการในระดับต่ำ เช่น ความปลอดภัยหรือความมั่นคง และทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการที่จะใช้ความสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในภารกิจที่เกินปกตินั้น ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มาแทนที่ภาวะผู้นำแห่งการจัดการ แต่จะช่วยเสริมหรือก่อให้เกิดผลที่เพิ่มขึ้น (add-on effect) จากภาวะผู้นำแห่งการจัดการ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยทักษะภาวะผู้นำแห่งการจัดการเป็นพื้นฐานด้วย มีปัจจัยสามประการที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

ความหมายของวิชาการ
            บทความทางวิชาการ เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือผลการค้นพบ ลักษณะของบทความทางวิชาการจะแตกต่างไปจากบทความอื่น ๆ ตรงที่จะเรียบเรียงขึ้นไว้อย่างเป็นระเบียบ ผู้เขียนอาจเป็นบุคคล สมาคมวิชาชีพ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น บทความทางวิชาการจึงมีได้ทุกสาขา

             ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาของบทความทางวิชาการต่างๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ซึ่งมีทั้งการแสดงความคิดเห็นทั่วไปให้คนอ่านโดยไม่จำกัดกลุ่ม หรือเขียนวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือนำเสนอผลการวิจัยเพื่อนักวิชาการสาขาเดียวกันอ่านเท่านั้นก็ได้

ลักษณะสำคัญของบทความทางวิชาการ
             1. มีการนำเสนอความรู้ ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้น ๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง
             2. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสาระประโยชน์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัว หรือประสบการณ์และผลงานของผู้อื่นมาใช้
             3. มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ
             4. มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของนักวิชาการ
             5. มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือมีประเด็นใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความรู้หรือพัฒนาความคิดในประเด็นนั้น ๆ ต่อไป

ส่วนประกอบของบทความทางวิชาการ
             1. ส่วนนำ จะเป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งสามารถใช้วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ตามแต่ผู้เขียนจะเห็นสมควร เช่น อาจใช้ภาษาที่กระตุ้น จูงใจผู้อ่านหรือยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย หรือตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่านหรืออาจจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน เป็นต้น
             2. ส่วนสาระสำคัญของเรื่อง การจัดลำดับเนื้อหาสาระ ผู้เขียนควรมีการวางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ และจัดลำดับเนื้อหาสาระให้เหมาะสมตามธรรมชาติของเนื้อหาสาระนั้น การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกัน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้นได้โดยง่าย
              3. ส่วนสรุป บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ๆ ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อ คือการเลือกเก็บประเด็นสำคัญๆ ของบทความนั้นๆ มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้น ๆ ท้ายบท
              4. ส่วนอ้างอิง เนื่องจากบทความทางวิชาการ เป็นงานที่เขียนขึ้นบนพื้นฐานของวิชาการที่ได้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยกันมาแล้ว และการวิเคราะห์ วิจารณ์อาจมีการเชื่อมโยงกับผลงานของผู้อื่นจึงจำเป็นต้องมีการอ้างอิงเมื่อนำข้อความหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ โดยการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นงานของใคร ทำเมื่อไร และนำมาจากไหน เป็นการให้เกียรติเจ้าของงาน และประกาศให้ผู้อ่านรับรู้

แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม
 
ความหมายของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
           1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
           2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
           3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
           4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
           5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้
          1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
             1.1ห้องสมุด
             1.2ห้อง ICT
             1.3ศูนย์วัฒนธรรม
             1.4ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,ห้องรีไซเคิ้ล ,ธนาคารขยะ
             1.5สวนพฤกษาศาสตร์
             1.6ศูนย์แนะแนว
             1.7ห้องสมุดสาระการเรียนรู้
             1.8ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
             1.9ห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์
             1.10ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ
             1.11ห้องปฏิบัติการภาษาไทย
             1.12ห้องปฏิบัติการสังคม
             1.13ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
             1.14ห้องปฏิบัติการคหกรรม
             1.15ห้องปฏิบัติการพิมพ์ดีด
             1.16ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์
             1.17ห้องปฏิบัติการดนตรี และ ศิลปะ
             1.18ห้องปฏิบัติการพลานามัย
             1.19ห้องปฏิบัติงานอุตสาหกรรม
             2.20ห้องจริยธรรม
        2. แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน
             2.1ห้องสมุดประชาชน
             2.2อุทยานการเรียนรู้
             2.3พิพิธภัณฑ์
             2.4อุทยานประวัติศาสตร์
             2.5ชุมชน
             2.6การศึกษาระบบนิเวศตามธรรมชาติ
             2.7ศูนย์วัฒนธรรม
             2.8สถานที่จัดงานการให้ข้อมูลความรู้ และข่าวสารต่างๆ
             2.9หอศิลป์
             2.10สวนสัตว์
             2.11สวนสาธารณะ
             2.12ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆนั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการใช้สื่อต่างๆให้ควบคู่กันไป เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผล ผู้เรียนจะได้มีความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น รู้ลึก รู้จริง และนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนการนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ



อ้างอิง

http://teacher.aru.ac.th/thanee/images/stories/word/learning123.pdf
http://www.kroobannok.com/blog/20427
http://www.pantown.com/content.php?id=32771&name=content4&area=3
http://www.nidtep.go.th/km/data/ab6.doc
http://www.nmk.ac.th/maliwan2/page/4_2librarysource.html

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น