เกริ่นนำ

.........สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาชมใน blogger ของดิฉัน นะค่ะ บล็อกนี้เป็นสื่อการเรียนการสอนของ วิชา ความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1/2558 เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานกันในแบบห้องเรียนปกติ กับการเรียนรู้ เว็ป blogger และช่วยให้ได้ความรู้อย่างกว้างขวางทางอินเทอร์เน็ตมีความสะดวดสบาย ทำให้ได้ข้อมลูทั้งที่เป็นบทความและ รูปภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู...ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการตกแต่ง บล็อกของตนเอง แล้วยังช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าอย่างอิสระเสรี พร้อมกว้างไกล มาตรวจสอบในห้องเรียนปกติ หวังว่า blogger นี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ชมทุกท่านไม่มากก็น้อย นะค่ะ

หน่วยที่ 9

การส่งเสริมและพัฒนาครู
สภาพปัจจุบันและปัญหาวิชาชีพครูในประเทศไทย
               ครู คือ ผู้กำหนดคุณภาพประชากรในสังคม และคุณภาพประชากรในสังคม คือ ตัวพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วิชาชีพครูจึงควรเป็นที่รวมของคนเก่ง คนดี สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติปฏิบัติตน การดำรงชีวิต และการชี้นำสังคมไปในทางที่เหมาะสม

                 จากสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน วิชาชีพครูกลับเป็นวิชาชีพที่คนทั่วไปดูหมิ่นดูแคลน เป็นวิชาชีพที่รายได้ต่ำ ผู้ประกอบวิชาชีพครูยากจน ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะดี ไม่ประสงค์จะให้บุตรหลานของตนศึกษาเพื่อออกไปประกอบวิชาชีพครู เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ม.๖ ก็ไม่ประสงค์ที่จะสมัครเรียนในสาขาวิชาชีพครู ผู้สมัครเรียนในสาขาครูจึงมักเป็นผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อไม่สามารถสอบเข้าเรียนในสาขาวิชาชีพอื่นได้แล้วจึงจะสมัครเรียนเพื่อออกไปเป็นครู

ปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพครูอาจสรุปได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ดังนี้
  •  ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เช่น ปัญหาอันเนื่องมาจากตัวป้อนเข้าของกระบวนการ ผลิตครู กระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาครู การกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตครู และการควบคุมให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะตามที่กำหนด เป็นต้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้ครู เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนด้าน งบประมาณ การบำรุงขวัญกำลังใจครูดี การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ครู เป็นต้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อให้การผลิตและการใช้ครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เช่น ปัญหาความด้อยประสิทธิภาพของผู้บริหาร การขาดระบบการตรวจสอบและประเมินผู้บริหารการไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่น การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการบริหาร รวมทั้งการขาดสถาบันพัฒนาผู้บริหารระดับมืออาชีพ เป็นต้น
 แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู

               การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูให้เป็นครูที่ดีและประสบความสำเร็จในวิชาชีพครูอาจดำเนินการได้อย่างน้อย 3 ทางคือ
                   1. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพตนเองของครู เช่น การฝึกอบรมการปฏิบัติงาน การประชุมทางวิชาการ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน

                   2. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยสถานศึกษา เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ
มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่ สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ให้ทุนการ
วิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น การแลกเปลี่ยนบุคลากร ส่งเสริมการเขียนตำรา สนับสนุนให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทั้งใน
และต่างประเทศ และอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยไม่ถือว่าเป็นการลา เหล่านี้ เป็นต้น

                     3. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยหน่วยงานกลาง อาจเป็นหน่วยงานต้นสังกัดการบริหารบุคคล เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาโดยองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพครูและการถือครองใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพครูอีกด้วย นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาโดยองค์กร ชมรม สมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรวมตัวกันเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือหลายอย่างเพื่อผลประโยชน์แห่งวิชาชีพครูของพวกตนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

   สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้สรุปว่า
                    การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพครูสู่มาตรฐานวิชาชีพควรเป็นการพัฒนาที่ครูได้ฝึกฝนตนเองในสภาวะของการปฏิบัติงานปกติ สร้างโอกาสให้ครูได้ทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการต่างๆหลากหลาย
ครูจะแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ แตกต่างกันตามระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งสามารถวิเคราะห์การแสดงออกของครูใน 3 มิติ ดังนี้

                มิติที่ 1 ระดับฝีมือของครู เป็นระดับคุณภาพในการดำเนินงานการจัดทำแผนการสอนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้
โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง 3 ระดับ คือ
  •  คุณภาพระดับต่ำ เป็นการปฏิบัติตามแบบตามตัวอย่างที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือปฏิบัติให้เห็นแล้วนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่น
  • คุณภาพระดับกลาง เป็นการปฏิบัติที่ครูพัฒนาขึ้นเองสอดคล้องกับผู้เรียนท้องถิ่นศักยภาพและความถนัดของครู
  • คุณภาพระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่มีความชำนาญแตกฉานจนสามารถเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ เป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ปรึกษาร่วมพัฒนาให้กับครูคนอื่นๆได้

                มิติที่ 2 การเพิ่มบทบาทของผู้เรียน

                       เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากความสามารถขั้นต่ำไปสู่ความสามารถขั้นสูง จากผู้เรียนอธิบายด้วยตนเองสู่ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองสู่ผู้เรียนสร้างความรู้ได้เองเป็นการพัฒนาคุณภาพสูงขึ้นโดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูแสดงออก ครูจะต้องเป็นผู้นำทาง โดยการจัดขั้นตอนของกิจกรรมเป็นลำดับ นำไปสู่การคิดได้เอง และการสร้างความรู้ได้เอง

                มิติที่ 3 ผลที่เกิดกับผู้เรียน

                         นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถจากความจำ สู่ ความคิด สู่ การกระทำ สู่ ค่านิยม และสู่การปฏิบัติเป็นนิสัยติดตัวด้วยค่านิยมที่พึงประสงค์จึงจะเป็นผลผลิตของครูมืออาชีพที่มีคุณภาพระดับสูง ขอบข่ายสาระของการพัฒนาครูจึงกำหนดแนวทางพัฒนาครูโดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองของครู การแสดงออกของครูและผลที่เกิดกับนักเรียน

             การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพครูมืออาชีพนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยตัวเองมาเป็นลำดับ โดยผู้บังคับบัญชาได้เสนอวิธีการพัฒนาตนเองบางประการเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ เช่น ฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ผู้ที่บริหารเวลาเก่งจะต้องยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน ได้แก่ มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ผัดวันประกันพรุ่งในการทำงานทุกประเภททั้งงานเล็กงานใหญ่ ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เป็นคนขยันขันแข็ง เป็นคนทำงานรวดเร็วลักษณะคนทำงานรวดเร็ว ฝึกตนให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ตนเป็นที่ต้องใจของผู้อื่น ทำตนให้รู้จักกาลเทศะ และทำให้ตนเองเป็นที่น่าเชื่อถือ
 เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
         มาตรฐานวิชาชีพครู
                 แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
               มาตรฐาน วิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
                       1. มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                       2. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                       3. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน

          มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
                   1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
                   2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทางการศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
                  3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติ การสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด

         มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
                 มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                 มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
                 มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                 มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
                 มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                 มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                 มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                 มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
                 มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                 มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
                 มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                 มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
  
           มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
                1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
                2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
                4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
                5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
                6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
                7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
                8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
                9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
        มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น



ที่มา
https://sites.google.com/site/orathaieducation/home/kar-sng-serim-sakyphaph-laea-smrrthphaph-khwam-pen-khru
http://www.oknation.net/blog/tippanaw/2013/03/12/entry-1
http://piwpiwclub.blogspot.com/2012/09/blog-post_5871.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น